6 กลุ่มเสี่ยง “โรคกระดูกพรุน” ผู้หญิงโอกาสสูงกว่าผู้ชาย 3 เท่า


6 กลุ่มเสี่ยง “โรคกระดูกพรุน” ผู้หญิงโอกาสสูงกว่าผู้ชาย 3 เท่า






นพ.สมพงษ์ ตันจริยภรณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ กล่าวว่า มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติได้กำหนดให้วันที่ 20 ตุลาคมของทุกปีเป็น”วันกระดูกพรุนโลก”

 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงโรคกระดูกพรุน ทั้งการป้องกัน วินิจฉัยและรักษา ทั้งนี้จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า 1 ใน 3 ของผู้หญิง และ 1 ใน 8 ของผู้ชาย ที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป  มีโอกาสเสี่ยงที่จะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะการเกิดกระดูกสะโพกหัก และร้อยละ 20 ของผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก จะเสียชีวิตในช่วงปีแรก
 ร้อยละ 30-40 เกิดความพิการไม่สามารถเดินได้ รวมทั้งไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันและช่วยเหลือตัวเองได้



โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคดังกล่าวได้แก่ 1.ผู้ที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไป

2.ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี

3.ผู้ที่สูบบุหรี่จัด

4.ดื่มสุรา กาแฟเป็นประจำ เนื่องจากในกาแฟมีคาเฟอีน ซึ่งจะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม

5.ผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ในชีวิตประจำวันมีการเคลื่อนไหวน้อย และ

6.ผู้ป่วยที่มีประวัติบิดามารดากระดูกสะโพกหักจากโรคกระดูกพรุน

กระดูกพรุนเป็นภาวะที่มีเนื้อกระดูกบางลงจากการสูญเสียมวลกระดูก ซึ่งจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะมีการสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็วภายใน 5 ปีแรก
 



โรคกระดูกพรุนทำให้กระดูกเกิดภาวะยุบหรือหักได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณกระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือ โดยทั่วไปมักจะไม่มีอาการแสดงจนกว่าจะเกิดกระดูกหักขึ้น 
อาการที่พบได้แก่ ปวดหลัง กระดูกหลังยุบตัว หลังค่อม ตัวเตี้ยลง กระดูกเปราะและหักง่ายแม้เกิดอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย ทำให้เกิดปัญหาการเดินและการเคลื่อนไหวของร่างกาย

ผอ.รพ.เลิดสิน กล่าวอีกว่าการป้องกันโรคกระดูกพรุนสามารถทำได้ด้วยการออกกำลังกาย โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับวัยและสภาพร่างกาย รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมอย่างพอเพียง
 หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุนและกระดูกหัก ได้แก่ สูบบุหรี่ ดื่มสุรา และการรับประทานยาสเตียรอยด์ เป็นต้น

อาหาร 4 ชนิด ที่ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน

แคลเซียมเป็นสารอาหารที่สำคัญอย่างมากต่อร่างกายของเรา โดยเฉพาะกระดูกที่แคลเซียมมีผลกระทบโดยตรง ซึ่งถ้าคุณไม่ได้มีโอกาสหรือไม่ค่อยชื่นชอบการดื่มนม เราขอแนะนำอาหาร 4 ชนิด  ที่จะช่วยเสริมสร้างแคลเซียมในร่างกายของคุณให้แข็งแรงโดยที่คุณอาจไม่เคยรู้ ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนไม่ให้เกิดขึ้น

• มะเดื่อ
มะเดื่อเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางสารอาหารสูง และให้แคลเซียมประมาณ 6% ต่อ 1 ถ้วย โดยคุณสามารถกินผลมะเดื่อดิบๆ กับน้ำผึ้งหวานๆ แค่นี้ก็เป็นเหมือนอาหารว่างให้คุณได้แล้ว
• น้ำเต้าหู้
หลายคนอาจมีอาการแพ้กลิ่นฉุนของนม ซึ่งคุณสามารถเลือกน้ำเต้าหู้เป็นมื้อเช้ากับปาท่องโก๋ทดแทนได้ เพราะน้ำเต้าหู้ทรงเครื่องที่ใส่สาคู ลูกเดือย ข้าวบาร์เลย์ ถั่วแดง วุ้น หรือธัญพืชชนิดอื่นๆ สามารถให้แคลเซียมประมาณ 321-324 มิลลิกรัมต่อ 1 แก้ว และในน้ำเต้าหู้ยังมีสารไฟโตอีสโตรเจนที่จะช่วยดูดซึมแคลเซียมได้มากขึ้นด้วย
• ผักใบเขียว
สีเขียวในผักประกอบไปด้วย คลอโรฟิลล์ เบตาแคโรทีน และวิตามินอี ซึ่งมีส่วนช่วยในการ-ต่อต้านอนุมูลอิสระ และมีแคลเซียมสูง การกินผักใบเขียวเป็นประจำจะช่วยทำให้กระดูกและฟันของคุณแข็งแรง เช่น ผักเคล (กะหล่ำปลีชนิดหนึ่งสีเขียวเข้ม) จะให้แคลเซียม 10% ต่อ 1 ถ้วย
• กากน้ำตาล
เป็นของเหลวเหนียวข้นที่ได้จากการผลิตน้ำตาลทราย ซึ่งไม่สามารถตกผลึกน้ำตาลได้อีก กากน้ำตาลสามารถให้แคลเซียม 179 มิลลิกรัมต่อปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ สามารถนำไปเป็นส่วนผสมในการทำบาร์บีคิวซอส หรือคุกกี้ขิงได้

 

ขอบคุณข้อมูลจาก thaiquote.org /  isamare.net  /ภาพ steptohealth.com

สุโสมณี พานทอง คือ 34 และเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมครอบครัว เธอจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี 2554 เธอเป็นเจ้าของและดำเนินงานด้านการปฏิบัติของเธอเองและช่วยเหลือชาวบ้านในชุมชนบ้านเกิดของเธอ เธอแต่งงานโดยไม่มีลูก แต่สนุกกับการใช้เวลาให้กับเมืองของเธอในฐานะเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ได้รับการเลือกตั้ง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Food Blog Theme by OlympusThemes.