“รมว.พลังงาน” ขีดเส้นภายใน ก.พ. 2562 ลงนามสัญญากับผู้ชนะประมูลแหล่งปิโตรเลียม “เอราวัณ-บงกช”

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ขีดเส้นลงนามในสัญญาภายใต้ระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC) กับผู้ชนะประมูลแหล่งปิโตรเลียมเอราวัณและบงกช ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 เน้นเงื่อนไขสำคัญต้องผลิตก๊าซ ไม่น้อยกว่า 1,500 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน

 

นายศิริ จิระพงษ์พันธ์

 

นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ปาฐกถาพิเศษเรื่อง นโยบายพลังงานชาติ ซึ่งจัดโดยชมรมวิทยาการพลังงาน (Thailand Energy Academy Club) เมื่อช่วงค่ำวันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 ที่โรงแรมเรเนซองส์ (ราชประสงค์) โดยระบุว่าประเด็นสำคัญเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการให้สำเร็จ มีอยู่ 3 ประเด็นหลัก คือ 1.การจัดประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ที่จะสิ้นอายุสัมปทานในปี 2565-2566 2.การให้คำตอบการสร้างโรงไฟฟ้า/ระบบไฟฟ้าในภาคใต้ และ 3.การวางโครงสร้างระบบพลังงาน 4.0 โดยเฉพาะประเด็นการจัดประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยทั้งแหล่งเอราวัณและแหล่งบงกช ที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช. มีมติให้กระทรวงพลังงาน คัดเลือกผู้ดำเนินการโดยเปิดให้มีการประมูลแข่งขันยื่นข้อเสนอล่วงหน้าก่อนที่สัมปทานจะสิ้นอายุ ถือเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนลำดับแรก

 

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า โรดแมปการเลือกตั้งที่เลื่อนระยะเวลาออกไปอีก 90 วัน ทำให้มั่นใจว่าจะดำเนินการจัดการแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยให้แล้วเสร็จ และน่าจะมีการลงนามในสัญญาภายใต้ระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC) กับผู้ชนะประมูลภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562  ซึ่งภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 จะจัดทำร่างทีโออาร์การประมูลแล้วเสร็จ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 สัญญา 2 แปลง คือ แหล่งเอราวัณ 1 สัญญา และบงกช 1 สัญญา ภายใต้ระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC) คาดว่าจะทราบผลการประมูลภายในสิ้นปี 2561 ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจ โดยเงื่อนไขสำคัญในทีโออาร์ ได้กำหนดปริมาณการผลิตก๊าซรวมจากทั้งสองแหล่งไม่น้อยกว่า 1,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอในการป้อนเป็นวัตถุดิบให้กับโรงแยกก๊าซธรรมชาติของปตท. และที่สำคัญราคาก๊าซจะต้องเป็นราคาที่อ้างอิงกับราคาก๊าซอ่าวไทยในสัญญาปัจจุบัน

 

 

สำหรับแหล่งก๊าซเอราวัณและบงกช ถือเป็นแหล่งก๊าซที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงพลังงานของประเทศ ที่ปัจจุบันมีปริมาณการผลิตตามสัญญาอยู่ที่ประมาณ 2,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 76% ของก๊าซที่ผลิตได้จากอ่าวไทย ดังนั้นหากการเปิดประมูลหยุดชะงัก ทำให้การผลิตก๊าซไม่เกิดความต่อเนื่อง จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก

 

 

 

 

 

สุโสมณี พานทอง คือ 34 และเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมครอบครัว เธอจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี 2554 เธอเป็นเจ้าของและดำเนินงานด้านการปฏิบัติของเธอเองและช่วยเหลือชาวบ้านในชุมชนบ้านเกิดของเธอ เธอแต่งงานโดยไม่มีลูก แต่สนุกกับการใช้เวลาให้กับเมืองของเธอในฐานะเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ได้รับการเลือกตั้ง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *