อ่างวิคเตอเรีย .. ปมเกาเหลาตำรวจ-ดีเอสไอ

พ.ต.อ.ทรงศักดิ์ รักศักดิ์สกุล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ  ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการเจาะลึกทั่วไทยอินไซด์ไทยแลนด์ ทางสถานีโทรทัศน์สปริง นิวส์ ช่อง 19 วันนี้ (17 ม.ค 61) ถึง ปฏิบัติการจู่โจมเข้าค้นอาบอบนวด วิคตอเรีย ซีเคร็ท จนนำมาสู่การกวาดล้างการค้ามนุษย์ และการเอาผิดเจ้าหน้าที่ตำรวจเอี่ยวรับส่วย  หลังพบบัญชีลดราคาให้จนท.รัฐหลายฉบับ  ว่าขณะนี้การดำเนินการคดี แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. คดีการค้ามนุษย์  ที่ดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษ 2. คดีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปพัวพัน โดยมีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ หรือ ปปท. รับไปดำเนินการเบื้องต้น  และ 3. กรณีที่พบ มีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ถูกนำมาค้ามนุษย์ ลักษณะตั้งราคาเปิดบริสุทธิ์ ที่ วิคตอเรีย ซีเคร็ท ก่อนส่งต่อไปขายบริการที่ มาเลเซีย ซึ่งดีเอสไอ ขยายผล ช่วยเหลือนำตัวกลับมาได้   พบมี “ป๋ากบ” หรือ นายบุญทรัพย์ เป็นผู้ต้องหาคนสำคัญ  โดยก่อนหน้า ดีเอสไอ มีการออกหมายจับผู้ต้องหาคนไทย 6 คน  และเมเลเซีย 2 คน รวมผู้ต้องหาในคดีนี้  8 คน  ขณะนี้จับได้เพียงบางส่วนเท่านั้น โดยดคีดังกล่าวนั้น ดีเอสไอรับไว้เป็นคดีพิเศษเช่นกัน และดำเนินการ สืบสวนขยายผลมาเป็นเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ก่อนเข้าตรวจค้นสถานที่ดังกล่าว เมื่อวันที่ 12 ม.ค ที่ผ่านมา  และพบหญิงต่างด้าวอีกนับร้อยคน โดยเชื่อว่าส่วนใหญ่ถูกหลอกลวงมาค้าประเวณี ส่วนการตั้งข้อหาสำคัญต่อผู้ต้องหาที่จับกุมได้นั้น  รองอธิบดีดีเอสไอ ระบุ จะยึดตาม “พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี ”   ซึ่งส่วนนี้ จะยกให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไปดำเนินการต่อ 

ขณะที่การปฎิบัติการจู่โจม เมื่อวันที่  12 ม.ค ที่ผ่านมา ถูกตั้งข้อสังเกต ว่า เป็นการทำงานร่วมกัน เพียงของเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ  เจ้าหน้าที่ทหาร กอ.รมน. และเจ้าหน้าที่้จากกรมการปกครองเท่านั้น โดยไม่ปรากฎกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าร่วมนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ข่าวรั่วไหล จนผู้ต้องหาไหวตัวทัน  เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่นเอี่ยวรับส่วยด้วย  รองอธิบดีดีเอสไอ ระบุ  เป็นการสนธิกำลังร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีตำรวจร่วมด้วยเช่นกัน  

ส่วนกรณีที่เมื่อวานนี้ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พลตำรวจเอก ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล และพลตำรวจโท ชาญเทพ เสสะเวช ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ระบุว่า ยังไม่ได้รับการโอนย้ายเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการต่อนั้น ยืนยันว่าส่งไปแล้ว เช่น เอกสารบันทึกจับกุม   มีเพียงบางส่วน ที่ไม่ได้ส่งให้ เพราะเป็นคดีค้างเก่า ที่ดีเอสไอต้องดำเนินการต่อเอง  พร้อม ยอมรับว่า ในการทำงาน ไม่ว่าหน่วยงานเดียวกันหรือต่างหน่วยงาน ย่อมมีข้อขัดข้องในการปฎิบัติ  ซึ่งช่วงเวลาในการเข้าตรวจค้น จนถึงปัจจุบัน มีเอกสารและหลักฐานซึ่งเป็นของกลางในการดำเนินคดีเป็นจำนวนมาก ซึ่งแจกจ่ายให้แต่ละหน่วยที่เกี่ยวข้องไปรับผิดชอบ เช่น ฝ่ายปกครอง  รับมอบไปดูแลเรื่องสถานที่บริการ ส่วนเอกสารที่ตรวจยึดได้จากตู้เซฟสำคัญ  ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อมูล  ซึ่งในการดำเนินการนั้น มีหน่วยที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยดูแลตรวจสอบตั้งแต่ต้นอยู่ด้วย รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย แต่การขนย้าย เช่น ตู้เซฟที่พบนั้น ระบุ ต้องอาศัยเวลา และยานพาหนะ ในการเคลื่อนย้าย  อาจทำให้เกิดข้อขัดข้องไปบ้าง 

“ผมเข้าใจว่า มันไม่ใช่เรื่องของความขัดแย้ง เป็นเพียงข้อขัดข้องที่สามารถพูดคุยกันได้อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้วคดีนี้  ปัจจุบันถูกอนุมัติให้เป็นดดีพิเศษแล้วครับ เอกสารทั้งหมด แม้ว่าเราจะส่งหรือไม่ส่งให้ตำรวจ  ยังไงก็จะกลับมารวม ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษจะต้องรับผิดชอบอยู่แล้ว ” รองอธิบดีดีเอสไอ ระบุ 

สุโสมณี พานทอง คือ 34 และเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมครอบครัว เธอจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี 2554 เธอเป็นเจ้าของและดำเนินงานด้านการปฏิบัติของเธอเองและช่วยเหลือชาวบ้านในชุมชนบ้านเกิดของเธอ เธอแต่งงานโดยไม่มีลูก แต่สนุกกับการใช้เวลาให้กับเมืองของเธอในฐานะเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ได้รับการเลือกตั้ง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *