21 ก.พ. 61 – นิวทีวี ช่อง 18 ถือสัมปทานทีวีดิจิทัลช่องข่าว ประกาศเลิกจ้างพนักงานถึง 32 คน โดยนายภาณุชัย เหตระกูล ศรีนวลนัด กรรมการบริหาร และ ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ NEW 18 ให้สัมภาษณ์ในเว็บไซต์นิวทีวี ระบุว่า ช่อง NEW 18 ทำการปรับกลยุทธ์ใหม่ เจาะกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนมากขึ้น โดยจะเป็นช่องที่เสนอสารคดีระดับโลกมากที่สุดในประเทศไทย เริ่มตั้งแต่วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม เป็นต้นไป และจะเสนอนำเสนอรายการสารคดีประจำทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ต่อเนื่องแบบมาราธอน ตั้งแต่ 6 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2558 ช่องทีวีดิจิทัลรายแรกที่หยุดกิจการไป คือ “ไทยทีวี” ของนางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย์ หรือ “ติ๋ม ทีวีพูล” ที่ตัดสินใจที่จะไม่จ่ายค่าใบอนุญาต เนื่องจากมีผลประกอบการขาดทุนร่วม 300 ล้านบาท และพยายามที่จะคืนช่องทั้ง 2 ที่ประมูลมาได้ ต่อมา วอยซ์ ทีวี เลิกจ้างพนักงานครั้งแรก เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559 เลิกจ้างพนักงาน 57 คน และครั้งที่ 2 เดือนธันวาคม 2560 เลิกจ้างพนักงานอีก 127 คน ส่วนเนชั่นทีวี ช่องนาวทีวี และสิ่งพิมพ์ในเครือก็ประกาศโครงการลาออกโดยสมัครใจมาแล้วถึง 3 รอบ รวมแล้วมีพนักงานลาออกมากกว่า 500 คน
ขณะที่ช่องไทยรัฐทีวี ประกาศเปิดโครงการลาออกโดยสมัครใจด้วยเช่นกัน เมื่อเดือนพฤษภาคม 2560 มีพนักงานสมัครเข้าร่วมโครงการมากกว่า 50 คน ช่องทีเอ็นเอ็น 24 ภายใต้การบริหารของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น เลิกจ้างพนักงานประจำ 6 คน เมื่อเดือนธันวาคม 2560
โดยผลประกอบการเกือบทุกช่องยังคงอยู่ในภาวะขาดทุนต่อเนื่อง แต่ก็มีความพยายามจะลดต้นทุนบวกกับ มาตรการขยายเวลาจ่ายค่าใบอนุญาตของ กสทช. ทำให้ผลประกอบการในปี 2560 บางช่องดีขึ้น
ข้อมูลที่แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯล่าสุดในไตร มาส 3 ปีที่ 2560 บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป หรือ NMG ขาดทุนหนักสุดกว่า 2,100 ล้านบาท เทียบปี 2559 ขาดทุน 1,100 ล้านบาท และเนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น หรือ NBC ขาดทุน 718 ล้านบาท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ขาดทุนมากขึ้นเป็น 761 ล้านบาทจากปี 2559 ขาดทุน 520 ล้านบาท ส่วน บีอีซี เวิลด์ กำไรลดลงจากปี 2559 ที่ 1,218 ล้านบาท เหลือ 396 ล้านบาท
ด้านอัมรินทร์ทีวี ขาดทุนลดลงเหลือ 185 ล้านบาท เทียบปี 2559 ขาดทุน 628 ล้านบาท ขณะที่ช่อง 9 อสมท. ขาดทุน 387 ล้านบาท จากปี 2559 ขาดทุน 734 ล้านบาท ด้านเวิร์คพอยท์ มีกำไรเพิ่มขึ้นเป็น 926 ล้านบาท ช่องโมโน กำไร 145 ล้านบาท ส่วนอาร์เอส กำไร 222 ล้านบาท และนิวส์ เน็ตเวิร์ค ขาดทุนลดลงจาก 1,500 ล้านบาทในปี 2559 เหลือ 363 ในไตรมาส 3 ปี 2560
สุโสมณี พานทอง คือ 34 และเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมครอบครัว เธอจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี 2554 เธอเป็นเจ้าของและดำเนินงานด้านการปฏิบัติของเธอเองและช่วยเหลือชาวบ้านในชุมชนบ้านเกิดของเธอ เธอแต่งงานโดยไม่มีลูก แต่สนุกกับการใช้เวลาให้กับเมืองของเธอในฐานะเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ได้รับการเลือกตั้ง