1 ก.พ 61- พล.อ วิทวัช รชตะนันท์ ผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยผ่านรายการเจาะลึกทั่วไทย อินไซต์ไทยแลนด์ ถึงกรณีราชกิจจานุเบกษา ประกาศบังคับใช้ ” มาตรฐานทางจริยธรรม ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ.2561 ” หลังจาก พล.อ วิทวัช รวมถึงประธานองค์กรอิสระอีก 5 ท่าน ร่วมลงชื่อประกาศบังคับใช้และคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ โดย พล.อ วิทวัช กล่าวว่ามาตรฐานดังกล่าว เป็นไปตามกฎหมายของรธน. ปี 60 มาตรา 219 ที่ให้มีการร่างมาตรฐานทางจริยธรรม ซึ่งมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการควบคุม กำกับดูแลเรื่องนี้ มาจาก รธน.ปี 50 โดยกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระอีก 5 องค์กร ต้องยกร่าง มาตรฐานทางจริยธรรม ซึ่งก่อนหน้ามีการนำไปเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทั้งคณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภานิติบัญญัติ หรือ สนช.มาเรียบร้อยแล้ว ฉะนั้น มาตรฐานดังกล่าว จะมีผลผูกพันธ์บังคับใช้ครอบคลุมทั้ง “ครม.-ส.ส.-ส.ว.” ในอนาคตข้างหน้าด้วย
” หลักการสำคัญของมาตรฐานจริยธรรมดังกล่าว เบื้องต้นมี 3 หมวด คือ หมวดที่ 1 ว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรมอันเป็นอุดมการณ์ มี 6 ข้อ // หมวดที่ 2 ว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลักนั้น // และหมวดที่ 3 ว่าด้วยจริยธรรมทั่วไป” พล.อ วิทวัช กล่าว
เมื่อถามต่อว่า มาตรฐานทางจริยธรรมอันเป็นอุดมการณ์ ในหมวดที่ 1 นั้น มีการแบ่งแยกหลายหัวข้อ มีความแตกต่างกันอย่างไร พล.อ วิทวัช กล่าวว่า มาตรฐานดังกล่าวนั้น มีความแตกต่างกันอยู่ ซึ่งแบ่งเป็น 6 ข้อย่อย มีความสำคัญแทบทั้งสิ้น ทั้ง 1. ต้องยึดมั่นและธำรงไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2. ต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย 3.ต้องถือผลประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน 4.ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเพื่อตนเองหรือผู้อื่น 5. ต้องไม่ขอ ไม่เรียก ไม่รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดในประการที่อาจทำให้กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ และ 6. ต้องไม่รับของขวัญของกำนัล ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ซึ่งในกฎหมายนั้น ได้ระบุไว้ว่า
” ผู้ใดละเมิดจริยธรรมอันเป็นอุดมการณ์ 6 ประการ ให้ถือว่าเป็นการละเมิดจริยธรรมร้ายแรง ถ้าร้ายแรงนี่ เรื่องราวจะต้องถูกส่งไป และหน้าที่ในการตรวจสอบ จะเปลี่ยนมือจากผู้ตรวจการแผ่นดิน ไปสู่ ป.ป.ช ส่วนบทโทษนั้น จะดูตามกฎหมายของ ป.ป.ช หากองค์คณะเห็นว่า การละเมิดนั้น ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง ขั้นตอนต่อไปจะไปถึงศาล รธน. และนำไปสู่การถอดถอนได้ ” พล.อ วิทวัช กล่าว
ทั้งนี้ พล.อ วิทวัช ยังกล่าวว่าในอดีต หากนักการเมือง ส.ส ส.ว หรือ คณะรัฐมนตรีละเมิดจริยธรรม กลไกการตรวจสอบนั้น มีการถอดถอนโดยรัฐสภาเท่านั้น เช่น กรณีเสียบบัตรแทนกัน แต่เป็นไปในสัดส่วนน้อยมาก ซึ่งหลังจากนี้ไป ยกให้ศาล รธน. มีอำนาจเป็นผู้ตัดสิน ตามกฎหมายใหม่
สุโสมณี พานทอง คือ 34 และเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมครอบครัว เธอจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี 2554 เธอเป็นเจ้าของและดำเนินงานด้านการปฏิบัติของเธอเองและช่วยเหลือชาวบ้านในชุมชนบ้านเกิดของเธอ เธอแต่งงานโดยไม่มีลูก แต่สนุกกับการใช้เวลาให้กับเมืองของเธอในฐานะเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ได้รับการเลือกตั้ง