26 ม.ค 61 นายชาลี ลอยสูง รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย หรือ คสรท. ให้สัมภาษณ์ในรายการเจาะลึกทั่วไทย อินไซต์ไทยแลนด์ ทางสปริงนิวส์ ทีวีดิจิทัลช่อง 19 ถึงกรณีเมื่้อวานนี้ (25 ม.ค) นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่ากระทรวงการคลัง เตรียมเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พิจารณาเห็นชอบมาตรการลดผลกระทบให้กับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี ที่ปรับค่าจ้างให้กับลูกจ้างตามมติใหม่ล่าสุด ด้วยการนำค่าใช้จ่ายด้านค่าจ้าง มาหักลดหย่อยภาษีได้ 1.15 เท่า จากเดิม 1 เท่า โดยให้มีผลตั้งแต่ช่วง 1 เมษายน – 31 ธันวาคม 2561
โดยรองประธาน คสรท. ระบุว่า ไม่ติดใจต่อข้อเสนอดังกล่าวของกระทรวงการคลัง แต่อยากให้มองในมุมมองของลูกจ้าง ว่าการขอปรับค่าแรงที่เพิ่มขึ้นนั้น เพื่อให้เป็นไปตามสภาวะเศรษฐกิจของประเทศชาติในเวลานี้ เพราะที่ผ่านมาค่าแรงขั้นต่ำ ยังอยู่ในอัตราน้อยมาก เมื่อเทียบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ฉะนั้นการที่นายจ้างต้องปรับเพิ่มค่าจ้างให้กับแรงงานนั้น เป็นสิ่งที่ควรดำเนินการอยู่แล้ว เพื่อให้แรงงานอีก 30 % ที่ไม่ได้ถูกดูแลด้วยกลไกการปรับค่าจ้างตามการประเมินผลรายปี ได้รับความเป็นธรรม มีชีวิตการเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเท่าเทียมกัน
” เชื่อว่า ตามหลักการ การประกอบธุรกิจผู้ประกอบการนั้นๆคงมีการวางแผนการดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว รวมถึงการลงทุนด้วยที่ต้องการผลกำไร ฉะนั้น การดำเนินการแต่ละปี ย่อมมีผลประกอบการจำนวนมาก ก็จำเป็นต้องปรับค่าจ้างให้ลูกจ้างด้วย ” นายชาลีกล่าว
นายชาลี ยังระบุว่า เบื้องต้น ภาคแรงงานไม่ได้ติดใจ และพอเริ่มเข้าใจได้ กรณีกระทรวงการคลังเสนอให้นายจ้างนำค่าจ้างที่ปรับเพิ่้มขึ้นมาหักลดหย่อนภาษีได้ แต่ไม่เห็นด้วยอย่างมาก ต่อกรณีที่คณะกรรมการค่าจ้าง ยังเสนอให้นายจ้างลดเงินสมทบประกันสังคม 1 % จากที่ต้องส่ง 5 % ซึ่งจะเหลือสมทบเพียง 4 % เท่านั้น เป็นระยะเวลาถึง 1 ปี ว่า การลดเงินสมทบในส่วนดังกล่าวลดนั้น จะกระทบต่อยอดเงินกองทุนสะสมรวมของลูกจ้างในอนาคต แม้ฝ่ายลูกจ้างจะได้ลดด้วยฝ่ายละ 1 % ขณะที่กรณีสำนักงานประกันสังคม เตรียมปรับเปลี่ยน การคิดคำนวณเงินสมทบจากฐานเงินเดือน 15,000 บาท เป็นเพดานค่าจ้างขั้นต่ำ 20,000 บาท. พร้อมเตรียมขยายอายุเกษียณ จาก 55 ปี เพิ่มเป็น 60 ปีนั้น ก็จะทำให้กองทุนไม่มีเสถียรภาพ มองว่าข้อเสนอดังกล่าว เป็นการอุ้มนายจ้างมากเกินไป เป็นการดำเนินการที่สวนทางกันอย่างสิ้นเชิง
“ทราบว่ามติเรื่องนี้ ออกมาจากบอร์ดค่าจ้าง แต่ไม่ได้มีการเขียนออกมาอย่างชัดเจน คงจะรอเสนอให้สำนักงานประกันสังคมพิจารณาอีกครั้ง และคงเป็นการต่อรองกันระหว่างประชุม ถึงได้มีมติเรื่องการปรับค่าจ้างออกมาในรูปแบบ 5-22 บาท ได้ และ แม้ว่าจะกำหนดระยะ ลด 1 % เป็นเวลาเพียง 1 ปี แต่ หากคำนวณจากส่วนของลูกจ้างรวมเป็น 2 % จาก 11 ล้านคน ทำให้จำนวนเงินที่หายไปนั้นเป็นจำนวนมหาศาล และจะมีผลกระทบอย่างแน่ กองทุนจะไม่เสถียร และเงินจะหมดไป โดยเฉพาะกระทบต่อส่วนเงินออม บัญชีชราภาพที่จะติดลบ ซึ่งมีปัญหาอยู่แล้ว แล้วมันใช่ที่ต้องทำไหม? การปรับขึ้นค่าแรงครั้งนี้ นายจ้างไม่ได้เสียเปรียบเลย แต่ฝ่ายที่เสีย คือ รัฐบาล เท่ากับรัฐเอาเงินไปฝากให้นายจ้าง และนายจ้างจ่ายให้ลูกจ้าง อย่างนี้ไม่ถูกต้อง ” นายชาลี กล่าว
ทั้งนี้ เชื่อว่า ข้อเสนอทั้ง 2 เรื่อง กระทรวงการคลังคงเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในการประชุมวันอังคารหน้า (30 ม.ค) ซึ่ง ครสท. ยังคงยืนยัน ว่า 1. การปรับค่าจ้างต้องให้เหมาะสมกับที่ 1 คนต้องสามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ 2 คน /วัน 2 .การปรับค่าจ้างควรต้องเท่ากันทั่วประเทศ เพื่อเป็นการกระจายรายได้ 3.ปรับโครงสร้างค่าจ้าง และ 4.ไม่เห็นด้วยกับการลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมลงฝ่ายละ 1 %
สุโสมณี พานทอง คือ 34 และเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมครอบครัว เธอจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี 2554 เธอเป็นเจ้าของและดำเนินงานด้านการปฏิบัติของเธอเองและช่วยเหลือชาวบ้านในชุมชนบ้านเกิดของเธอ เธอแต่งงานโดยไม่มีลูก แต่สนุกกับการใช้เวลาให้กับเมืองของเธอในฐานะเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ได้รับการเลือกตั้ง