“สมชาย” แจง เคาะเลื่อนลต. 90 วัน เหตุให้พรรคการเมืองจัดทำไพรมารี่โหวตได้ทัน แย้ม หากกรธ.-กกต. ไม่เห็นโต้แย้ง อาจจัดลต.ได้เร็วขึ้น

26 ม.ค.61- นายสมชาย แสวงการ เลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือวิปสนช. ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการเจาะลึกทั่วไทยอินไซด์ไทยแลนด์ ทางสถานีโทรทัศน์สปริง นิวส์ ช่อง 19 ถึงกรณี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. มีมติเอกฉันท์ผ่านกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.ขยายเวลาบังคับใช้ 90 วัน ว่า สาระสำคัญที่น่าสนใจของกฎหมายดังกล่าวมี 4 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นที่หนึ่ง มาตราที่ 2 เรื่องการขยายเวลาบังคับใช้ร่างกฎหมายดังกล่าว 90 วันนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีการจัดทำไพรมารีโหวตได้ทันตามที่กำหนด ทั้งนี้ หากสามารถดำเนินการตามกระบวนการได้เร็วเท่าไหร่ ก็สามารถประกาศวันเลือกตั้งได้เร็วเท่านั้น เนื่องจากกฏหมายระบุว่า ให้จัดการเลือกตั้งภายใน 150 วัน ดังนั้น คาดว่าจะสามารถจัดการเลือกตั้งได้ช้าสุดภายในเดือนกุมพาพันธ์ 2562  และกรณีที่กฎหมายลูกทุกฉบับเสร็จเรียบร้อยแล้ว และหากกรธ. หรือ กกต. ไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ก็จะลดเวลาลงได้อีกภายในระยะเวลา 45 วัน

ประเด็นที่สอง มาตรา 35 เกี่ยวกับการตัดสิทธิผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่กมธ.เสียงข้างมากได้เพิ่มการตัดสิทธิการเข้ารับราชการในสังกัดในรัฐสภา ซึ่งที่ประชุมมีมติไม่เห็นด้วย แต่เห็นด้วยกับการตัดสิทธิการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง และผู้บริหารท้องถิ่นแก่ผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ตามที่ กมธ. เสียงข้างมากทำการแก้ไขเพิ่มเติมเข้ามา

ประเด็นที่สาม มาตรา 75 ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบห้ามจัดแสดงมหรสพงานรื่นเริงระหว่างหาเสียงได้ แต่จะมีการกำหนดค่าใช้จ่ายพรรคการเมืองไม่ให้เกินร้อยละ 20 ของงบหาเสียง ทั้งนี้ งบหาเสียง จะขึ้นอยู่กับการหารือระหว่างกกต.กับพรรคการเมือง

และประเด็นที่สี่ การขยายระยะเวลาการเข้าคูหากาบัตรเลือกตั้ง เป็นตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 17.00 น.

“การเลือกตั้งในบางประเทศใช้เวลา 24 ชั่วโมง อย่างที่ญี่ปุ่น เปิดให้เลือกตั้งแต่ 08.00-20.00 น. อังกฤษ 08.00-22.00 น. หรือแม้กระทั่งมาเลเซียใช้เวลา 10 ชั่วโมง มีแค่ประเทศไทยที่ใช้เวลา 7- 8 ชั่วโมง จึงมีมติขยายเป็น07.00 น. ถึง 17.00 น. เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวบ้านในต่างจังหวัด ซึ่งเชื่อว่าการเลือกตั้งครั้งต่อไป จะช่วยเปลี่ยนโฉมการเมืองไทยได้”   

นายสมชาย กล่าวต่อว่า หลังจากนี้ สนช. จะต้องนำร่างกฎหมายฉบับนี้ ส่งไปยัง กรธ. และ กกต. เพื่อพิจารณาว่ามีเนื้อหาขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งหากพบว่าขัด ก็ต้องมีการตั้งคณะกรรมการร่วม 3 ฝ่ายประกอบด้วย สนช. 5 คน กรธ. 5 คน และ กกต.อีก 1 คน ทำหน้าที่ทบทวนร่างกฎหมายทั้งหมดต่อไป

สุโสมณี พานทอง คือ 34 และเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมครอบครัว เธอจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี 2554 เธอเป็นเจ้าของและดำเนินงานด้านการปฏิบัติของเธอเองและช่วยเหลือชาวบ้านในชุมชนบ้านเกิดของเธอ เธอแต่งงานโดยไม่มีลูก แต่สนุกกับการใช้เวลาให้กับเมืองของเธอในฐานะเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ได้รับการเลือกตั้ง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *