“พรเพชร” ย้ำสนช.ห้ามเบี้ยวหารือ 2 กม.ลูก ยืนกรานความจำเป็นขยายเวลา 90 วัน ร่างกฎหมายเลือกตั้งส.ส. ห่วงพรรคการเมืองดำเนินการขั้นตอนส่งผู้สมัคร และระบบไพรมารีโหวตไม่ทัน
23 ม.ค. 61 – นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษกกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิปสนช.) แถลงผลการประชุมวิปสนช.ว่า ในวันที่ 25 ม.ค จะมีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. และวันที่ 26 ม.ค.จะมีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งส.ว. ในวาระ 2-3 ซึ่งนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช. ย้ำต่อสมาชิกสนช.ว่า การประชุมสนช.ในสัปดาห์นี้มีความสำคัญมาก ขอให้มาร่วมประชุมให้มากที่สุด ใครที่ติดภารกิจประชุมหรือดูงานต่างประเทศขอให้เลื่อนกำหนดไปก่อน ยืนยันว่า ในการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ทั้งสองฉบับ รัฐบาลไม่มีการส่งซิกอะไรมา โดยในส่วนของร่างพ.ร.บ.การเลือกตั้งส.ส.ยังมีประเด็นเห็นต่างค่อนข้าง มากหลายประเด็นระหว่างเสียงข้างมากกับเสียงข้างน้อย
นพ.เจตน์กล่าวว่า ตนจะเข้าอภิปรายในมาตรา 2 เรื่องการให้กฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นจาก 90 วัน นับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยเห็นด้วยกับการขยายเวลา 90 วัน เนื่องจากมีความจำเป็น เพราะการประชุมใหญ่พรรคการเมืองจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีการยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 57/2557 เรื่องการห้ามพรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมทางการเมือง และคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 เรื่องการห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน ซึ่งการประชุมพรรคเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งเพราะถ้าประชุมพรรคไม่ได้ จะไม่สามารถดำเนินการขั้นตอนระบบไพรมารีโหวต การส่งผู้สมัคร การได้รับเงินทุนสนับสนุนพรรคการเมืองได้ ซึ่งขั้นตอนต่างๆ ใช้เวลาดำเนินการมาก อาทิ ระบบไพรมารีโหวตใช้เวลา 30 วัน การให้ผู้สมัครส.ส.สังกัดพรรคใช้เวลา 90 วัน ยังไม่รวมขั้นตอนการประกาศยกเลิกคำสั่งคสช.ต่างๆ และการประชุมพรรค ดังนั้นมีความจำเป็นต้องขยายเวลาการบังคับใช้กฎหมายออกไป 90 วัน เพื่อให้พรรคการเมืองสามารถเตรียมตัวได้ทัน
สุโสมณี พานทอง คือ 34 และเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมครอบครัว เธอจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี 2554 เธอเป็นเจ้าของและดำเนินงานด้านการปฏิบัติของเธอเองและช่วยเหลือชาวบ้านในชุมชนบ้านเกิดของเธอ เธอแต่งงานโดยไม่มีลูก แต่สนุกกับการใช้เวลาให้กับเมืองของเธอในฐานะเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ได้รับการเลือกตั้ง