พ.ต.อ.ทรงศักดิ์ รักศักดิ์สกุล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ เจาะลึกทั่วไทย อินไซต์ไทยแลนด์ ทางสปริง นิวส์ช่อง 19 ถึงกรณีวันนี้ (22 ม.ค) ดีเอสไอจะเริ่มนัดประชุมย่อย เจ้าหน้าที่ และคณะที่ปรึกษาทำคดี ค้าประเวณีในสถาน อาบอบนวดวิคตอเรีย ซีเครท เป็นครั้งแรก เพื่อหาแนวทางการทำคดีว่าจะเป็นไปในทิศทางใด หลังจากดีเอสไอรับสำนวนคดีค้ามนุษย์จากตำรวจไว้เป็นคดีพิเศษก่อนหน้านี้แล้ว ว่าคดีค้ามนุษย์ที่เกี่ยวโยงกับคดีนี้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. กรณีที่ดีเอสไอสามารถช่วยเหลือสาวเมียนมาร์ 1 รายที่ถูกนำไปค้าประเวณีที่ประเทศมาเลเซียได้ และสืบพบว่าถูกนายหน้าส่งมาจาก อาบอบนวดวิคตอเรีย ซีเครท (เป็นคดีพิเศษ ตั้งแต่ปี 2560) และ 2. กรณีใหม่ ที่ดีเอสไอ สนธิกำลังร่วมกับทหาร ฝ่ายปกครอง บุกไปตรวจค้าสถานที่ดังกล่าวเมื่อวันที่ 12 ม.ค ที่ผ่านมา โดยพบผู้ประกอบการนำสาวต่างด้าว มาค้าประเวณีหลายสิบคน (จำนวนผู้ต้องหา 6 ราย) โดยในวันนี้ เจ้าหน้าที่ชุดที่ทำคดี ทั้ง 2 ส่วน จะมีการประชุมร่วมกันเป็นครั้งแรก ซึ่งทั้ง 2 คดี คณะทำงานจะเป็นคณะเดียวกัน โดยมีชุดคณะกรรมการที่ปรึกษาคดีพิเศษ จากหลายหน่วยงานร่วมด้วย ทั้งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในภาครัฐ กระทรวงยุติธรรม (ป.ป.ท.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)กรมการปกครอง และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
” ทั้งนี้ แนวทางในการประชุมทีมทำคดีในวันนี้ ยอมรับเบื้องต้นคดีค้ามนุษย์ ถือว่า เป็นคดีที่ละเอียดอ่อน มีเหยื่อเป็นผู้หญิงจำนวนมาก การดำเนินคดีนั้น จะต้องยึดตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นข้อกังวล ที่ดีเอสไอพยายาม ให้การดำเนินการเป็นไป โดยยึดเหยื่อเป็นศูนย์กลาง รวมถึงการเยียวยาด้วย ซึ่งจะเป็นเงื่อนไขทางกฎหมายค่อนข้างเยอะ ถ้าไม่วางแนวทางในการปฎิบัติที่ชัดเจน การดูแลเหยื่ออาจจะเกิดปัญหา มีข้อกกพร่องได้ วันนี้จึงจำเป็นต้องร่วมถกรายละเอียดหลายข้อ ” รองอธิบดีดีเอสไอ กล่าว
ส่วนกรณีที่ถูกตั้งข้อสังเกต ว่า การดำเนินการเรื่องโอนย้ายคดี จาก สน.วังทองหลาง มายัง ดีเอสไอนั้น มีความขัดข้อง ล่าช้า รองอธิบดีดีเอสไอ ระบุว่า เนื่องจาก มีหลักฐานและ จำนวนผู้ตกเป็นเหยื่อในคดีดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยนิติเวช โรงพยาบาลตำรวจ จึงจำเป็นต้องตรวจพิสูจน์ และคัดแยกสัญชาติของหญิงสาวทั้งหมด โดยบางส่วนมีอายุไม่ถึง 18 ปี หลายราย ซึ่งการตรวจพิสูจน์นั้นมีกระบวนการขั้นตอน ก่อนเจ้าหน้าที่ตำรวจจะมอบสำนวนให้ดีเอสไอดำเนินการต่อ ซึ่งทั้ง 2 สำนวนนั้น หลักคือ มีความผิด ตามพ.ร.บ ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี แต่คดีที่ 2 นั้น ผู้เกี่ยวข้องจะถูกแจ้งข้อหา ตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ที่มีโทษสูงกว่า อีก 1 ข้อหา
“มองว่า ไม่น่าจะมองว่า เป็นการยื้อคดีของฝั่งตำรวจ เพราะเข้าใจว่า กระบวนการคัดแยกเหยื่อที่มีจำนวนมาก ต้องใช้เวลา และมีระเบียบขั้นตอนอยู่ ยืนยัน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย สน.วังทองหลางเอง ก็มีอำนวจทางกฎหมาย ในการรวบรวมหลักฐาน ก่อนรับมอบสำนวนมายังดีเอสไอ แต่อย่างไรก็แล้วแต่ เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจส่งสำนวนมากแล้ว ยังต้องคอยประสานงานต่อกันในเรื่องคดีความส่วนหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวนผู้กระทำผิด จะเป็นดีเอสไอเป็นผู้รับผิดชอบ ” รองอธิบดี กล่าว
ขณะที่กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ออกหมายจับผู้ต้องหาอีก 2 คน ในส่วนคดีค้ามนุษย์ คือ “เสี่ยกำพลพร้อมภรรยา” ก่อนหน้านี้นั้น พ.ต.อ ทรงศักดิ์ ระบุว่า เรื่องนี้มองเป็นดุลพินิจและหน้าที่ของตำรวจที่สามารถกระทำได้ เมื่อหลักฐานโยงไปถึง แต่ตอบแทนไม่ได้ เพราะเหตุใดสำนักงานตำรวจแห่งชาติถึงเร่งดำเนินการ
สุโสมณี พานทอง คือ 34 และเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมครอบครัว เธอจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี 2554 เธอเป็นเจ้าของและดำเนินงานด้านการปฏิบัติของเธอเองและช่วยเหลือชาวบ้านในชุมชนบ้านเกิดของเธอ เธอแต่งงานโดยไม่มีลูก แต่สนุกกับการใช้เวลาให้กับเมืองของเธอในฐานะเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ได้รับการเลือกตั้ง