ประชาชนว่าไง !! เมื่อ “เลือกตั้ง” ไม่มาตามนัด ??
เอาละวา….เมื่อมติคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.)ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จุดพลุ “ไส้เลื่อน” ทำหลายฝ่ายเคือง ออกมากระแนะกระแหนเวลานี้
เพราะนับแต่เดือนตุลาคม 2560 ก่อนจะเคาะมติ กมธ.ดังกล่าว เสียงลือเสียงเล่าอ้าง จะเลื่อนเลือกตั้งออกไปก็เป็นจริง มีคำถามว่า กระบวนการต่อสู้ทางการเมืองจะออกมาในทิศทางไหน….?
อยากให้ คสช.สืบทอดอำนาจต่อหรือไม่? จากคำหวานของชาวบ้านบางพื้นที่ อ้อน “ลุงตู่” เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ
หรือ อยากต่อต้านอำนาจ คสช. เบื่อแล้วรัฐบาลรัฐประหาร 4 ปี ดูเหมือนคำว่า เผด็จการ ดังกังวานยิ่งขึ้นๆ
อย่างไรก็ตาม พ.ศ. 2561 คนไทยยังต้องอยู่กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตลอดทั้งปีค่อนข้างแน่ เมื่อร่างกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.พิจารณาเสร็จสิ้นทุกมาตรา โหวตกันแล้วเสียงข้างมากให้แก้ไขมาตรา 2 กำหนดให้กฎหมายมีผลบังคับใช้ 90 วันนับแต่วันประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เปลี่ยนเงื่อนไขจากเดิม ที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ตั้งโจทย์กำหนดให้มีผลบังคับใช้ทันทีนับแต่ประกาศ
เหตุผลที่กมธ.อ้าง อยากขยายเวลาเพื่อให้พรรคการเมืองเตรียมพร้อมในการเลือกตั้งยาวนานขึ้น รับกับคำสั่ง คสช. ที่กำหนดกระบวนการด้านธุรการของพรรคการเมือง เริ่มได้ในเดือนมีนาคม 2561 ขณะที่รอตรากฎหมายเลือกตั้งอีก 4 ฉบับยังต้องใช้เวลาอีก 150 วัน
ผนวกข้อแม้ ขยายเวลาบังคับใช้ในราชกิจจานุเบกษาออกไปอีก 90 วัน รวมแล้ว 240 วัน ไปตกที่เดือนกุมภาพันธ์ 2562
เลือกตั้งประชาธิปไตย….ไม่มาตามนัด นับแต่คำพูด 3 ครั้่งยามออกไปเยือนต่างประเทศ พล.อ.ประยุทธ์ ก็ประกากศวันเลือกตั้งทุกครั้งไป ครั้งแรก เมื่อต้นปี 2558 ตอนเดินทางไปจับมือกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อาเบะ บอกไทยจะมีเลือกตั้งต้นปี 2559 ปลายปี 2558 ตอนไปเจรจากับเลขาธิการสหประชาชาติ นายบัน คี-มูน วันนี้เป็นอดีตไปแล้ว จะจัดเลือกตั้งกลางปี 2560 ล่าสุด จับมือทักทายกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ โรนัลด์ ทรัมป์ และคนไทยในอเมริกา ก็แจ้งไทม์ไลน์ไทยเลือกตั้งพฤศจิกายน 2561
ความกังวล ข้อสงสัย ความกดดัน แรงบีบรัดให้รัฐบาล และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คสช.) มีสัญญาณรุนแรงขึ้นอีก
ทิศทางแบบนี้….สถานการณ์การเมืองจะเป็นอย่างไรต่อไป? ไม่น่าเดาทางยาก!!!
แต่มาฟังกูรูว่า คิดเห็นอย่างไร? รวมทั้งจากคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่ประกาศตัวเป็นนักการเมือง
คอลัมน์นิสต์ทั้งสิ่งพิมพ์และออนไลน์หลายค่ายวิเคราะห์ว่า คนหนุนที่เคยเป็นกลุ่มการเมือง พรรคการเมือง นักการเมือง ย่อมเปลี่ยนมุมมามอง นายกฯ เป็นคู่แข่ง ชิงพื้นที่ชิงอำนาจ ประสานกับการส่ง ส.ค.ส.ว่าด้วย “กองหนุน” จากคำพูดของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ชี้สภาพการณ์ทางการเมืองไม่เหมือนเดิม
สายวิชาการ อย่างดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคาะเปรี้ยงว่า เป็นเรื่องใหญ่ ไม่อยากให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น เมื่อยืดเวลาออกไป คสช.และรัฐบาล ต้องเผชิญแรงปะทะ กดดันมากขึ้นในภาวะขาลงตอนนี้
ส่วนเสียง นายนพดล ปัทมะ แกนนำพรรคเพื่อไทยที่ว่า นักการเมืองไม่เดือดร้อน แต่กระทบความความศรัทธาต่อนายกฯประยุทธ์ และกระเทือนความน่าเชื่อถือจากต่างชาติ ทั้งยังดักทางอ้างนักธุรกิจ นักลงทุนไทยเห็นว่าจะกระทบความเชื่อมั่นในการลงทุน จะเป็นปัจจัยลบต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจของประเทศ ไม่เป็นประโยชน์ทางการเมือง และจะเป็นภาระให้ประเทศ โดยเฉพาะกระทบการสร้างความปรองดอง
น้ำเสียงหยันๆ ของคนมีส่วนได้ส่วนเสียทางการเมือง ย่อมส่อความกังวลกับบรรยากาศทางเศรษฐกิจ สังคมและชีวิตคนไทย
การบริหารอำนาจเพื่อคนหมู่มากของนักการเมือง และกองทัพ ล้วนส่งผลต่อความสงบสุขของประเทศชาติ บ้านเมือง ไม่อยากเห็นประเด็นเลื่อนเลือกตั้ง เป็นไฟสุมขอนโบกแรงขึ้น
เพราะแค่ปัญหาคนรักเวลา มีนาฬิกาต่อเรือนละเป็นแสนเป็นล้าน กับข้อเรียกร้องคนเคยหนุนให้พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณออก ยังไม่ได้รับการตอบสนอง
ลามไปเรื่องลักษณะต้องห้ามและขยายอายุการทำงาน ป.ป.ช. ขอให้ยื่นตีความ ยังไม่ถึงมือศาลรัฐธรรมนูญ
ทุกอย่างดูจะไม่มาตามนัด ….ฟืนไฟกองใหญ่ จึงรอกระหน่ำโหม “ลุงตู่และคสช.” ไม่รู้จะไหม้เกรียมแค่ไหน!!!!
Cr : Springnews
สุโสมณี พานทอง คือ 34 และเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมครอบครัว เธอจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี 2554 เธอเป็นเจ้าของและดำเนินงานด้านการปฏิบัติของเธอเองและช่วยเหลือชาวบ้านในชุมชนบ้านเกิดของเธอ เธอแต่งงานโดยไม่มีลูก แต่สนุกกับการใช้เวลาให้กับเมืองของเธอในฐานะเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ได้รับการเลือกตั้ง