วันที่ 23 ธันวาคม 2560 ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ.ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับคณะผู้วิจัยจากต่างประเทศ ได้ทำการศึกษาพรรณพฤกษชาติของประเทศไทย (Flora of Thailand) โดยเน้นการศึกษาพืชวงศ์ส้มกุ้ง หรือ ชื่อทางการค้าเรียกว่า เบโกเนีย (Begonia) จากการศึกษาอย่างต่อเนื่องได้ค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลก คือ ดาดดารารัศมี และชาฤาษีไทรโยค จนมีการยอมรับได้ลงตีพิมพ์ในวารสารบลูเมียร์แห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นวารสารชั้นนำทางด้านพฤกษศาสตร์ระดับนานาชาติ
ผศ.ดร.ธรรมรัตน์ กล่าวว่าตนพร้อมทีมวิจัยร่วมกับดร.ชิง อี่พงและนายฉี่เว่ยหลินแห่งอะคาเดเมียซินิก้า ประเทศไต้หวันได้ค้นพบ ดาดดารารัศมี (Begonia fulgurata) ในป่าลึกแถบจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ขึ้นไป ลักษณะของดาดดารารัศมี เป็นพันธุ์ไม้ที่มีใบสวยงามที่สุดชนิดหนึ่งในบรรดาพรรณไม้ในกลุ่มเดียวกัน ลายของเส้นใบสวยงามเหมือนใยแมงมุมแต่งแต้มด้วยลวดลายของเส้นใบ และเป็นที่สะดุดตาเหมือนอัญมณีแห่งพงไพร และยังเป็นพันธุ์ไม้ที่มีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมได้ดีต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
ผศ.ดร.ธรรมรัตน์ กล่าวว่า นอกจากนี้จากการศึกษาพรรณไม้ในเขตภูเขาหินปูนอย่างต่อเนื่อง ตนพร้อมคณะผู้วิจัยได้ทำการสำรวจพบ ชาฤาษีไทรโยค (Paraboea fimbriata) ภายในป่า ภูเขาหินปูน พื้นที่ของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี และเชื่อว่าสามารถได้เพียงพบแห่งเดียวในโลกที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรีโดยการพบดังกล่าวอยู่ในโครงการศึกษาวิจัยที่เน้นการศึกษาโดยเฉพาะภาคตะวันตกของประเทศไทย ร่วมกับดร.คาร์เมน พุกลิซิ นักพฤกษศาสตร์ แห่งสวนพฤกษศาสตร์สิงคโปร์ ผู้เชี่ยวชาญพืชวงศ์ชาฤาษี (African Violet)ในวงการไม้ประดับ ร่วมกันตีพิมพ์พืชชนิดใหม่ของโลกในวารสารเอดินบะระ เจอร์นัลออฟบอททานี(Edinburgh Journal of Botany)ฉบับล่าสุด
ซึ่งบริเวณที่พบชาฤาษีไทรโยค เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง อุดมสมบูรณ์ด้วยพรรณไม้และสัตว์ป่า สำรวจ ดังนั้นป่าแห่งนี้จึงเป็นดัชนีชี้วัดสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งยังเหมาะสมต่อการพัฒนาต่อยอดเพื่อเป็นไม้ประดับเชิงเศรษฐกิจต่อไป เนื่องจากชาฤาษีไทรโยคมีใบและดอกที่สวยงาม น่าจะเป็นไม้ประดับตัวใหม่โดยคณะผู้วิจัยและมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี กำลังร่วมกันศึกษาเพื่อต่อยอดพืชชนิดนี้ เตรียมส่งเสริมผลักดันเป็นไม้ประดับเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต ซึ่งการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยเพื่อก่อให้เกิดความยั่งยืน โดยไม่ต้องนำเข้าไม้ประดับจากต่างประเทศ
ผศ.ดร.ธรรมรัตน์ เปิดเผยว่า พืชทั้ง 2 ชนิดนี้ นอกจากเป็นพืชเฉพาะถิ่นของประเทศไทย ยังมีสถานภาพด้านการอนุรักษ์ตามเกณฑ์ของ IUCN พบว่าอยู่ในสถานภาพเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เนื่องจากการลดลงของพื้นที่ป่าไม้ จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการวางแผนเพื่ออนุรักษ์ต่อไป
เครดิต : dailynews
สุโสมณี พานทอง คือ 34 และเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมครอบครัว เธอจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี 2554 เธอเป็นเจ้าของและดำเนินงานด้านการปฏิบัติของเธอเองและช่วยเหลือชาวบ้านในชุมชนบ้านเกิดของเธอ เธอแต่งงานโดยไม่มีลูก แต่สนุกกับการใช้เวลาให้กับเมืองของเธอในฐานะเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ได้รับการเลือกตั้ง