นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการเจาะลึกทั่วไทยอินไซด์ไทยแลนด์ ทางสถานีโทรทัศน์สปริง นิวส์ และสถานีวิทยุสปริง เรดิโอ เอฟเอ็ม 98.5 เมกกะเฮิร์ท ถึงกรณี พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ว่า มีการเสนอให้ปรับปรุงอัตราภาษีในพ.ร.บ.ที่ดินฯ ใหม่ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและให้เกษตรกร ผู้ประกอบการ รวมประชาชนได้ปรับตัวกับภาษีใหม่มีการเสนอให้ปรับปรุงอัตราภาษีในพ.ร.บ.ที่ดินฯ ใหม่ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและให้เกษตรกร ผู้ประกอบการ รวมประชาชนได้ปรับตัวกับภาษีใหม่ โดยเสนอให้มีการปรับลดเพดานภาษีลง 40% จากมติที่ ครม.เห็นชอบ ทั้งนี้ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเกษตรกรรมให้ลดจากมติ ครม. 0.2% เหลือ 0.15% ที่อยู่อาศัยลดจาก 0.5% เหลือ 0.3% อื่นๆ นอกเหนือจากเกษตรและที่อยู่อาศัย เช่น พาณิชยกรรม ลดจาก 2% เหลือ 1.2% และที่ดินว่างเปล่าหรือไม่ทำประโยชน์ ลดจาก 2% เพิ่มขึ้นอีก 0.5% ทุก 3 ปี แต่สูงสุดไม่เกิน 5% ให้ลดเหลือ 1.2% เพิ่ม 0.3% ทุก 3 ปี แต่สูงสุดไม่เกิน 3%
นอกจากนี้ ยังเสนออัตราภาษีที่จัดเก็บจริง โดยให้มีบัญชีอัตราภาษีแนบท้ายเพื่อจัดเก็บภาษีใน 2 ปีแรก และปีที่ 3 เป็นต้นไปให้เป็นไปตามร่างกฎหมายที่เสนอโดยให้รัฐบาลเป็นผู้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดภาษีที่เก็บจริง
นายพรชัย กล่าวต่อว่า สำหรับอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่กรรมาธิการเสนอ เพื่อจัดเก็บภาษีใน 2 ปีแรก ดังนี้ เกษตรกรรมที่มีบุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของ 0-50 ล้านบาท ไม่เสียภาษี มูลค่า 50-75 ล้านบาท เก็บ 0.01% มูลค่า 75-100 ล้านบาท เก็บ 0.03% มูลค่า 100-500 ล้านบาท เก็บ 0.05% มูลค่า 500-1,000 ล้านบาท เก็บ 0.07% มูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาท เก็บ 0.1%
ส่วนเกษตรกรรมที่มีนิติบุคคลเป็นเจ้าของ มูลค่า 0-75 ล้านบาท เก็บ 0.01% มูลค่า 75-100 ล้านบาท เก็บ 0.03% มูลค่า 100-500 ล้านบาท เก็บ 0.05% มูลค่า 500-1,000 ล้านบาท เก็บ 0.07% มูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาท เก็บ 0.1%
ขณะที่อยู่อาศัยกรณีที่เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา และเป็นเจ้าของดินและสิ่งปลูกสร้างรวมถึงมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน มูลค่า 0-20 ล้านบาท ไม่เสียภาษี มูลค่า 20-50 ล้านบาท เก็บ 0.02% มูลค่า 50-75 ล้านบาท เก็บ 0.03% มูลค่า 75-100 ล้านบาท เก็บ 0.05% มูลค่าเกิน 100 ล้านบาท เก็บ 0.1% ส่วนที่อยู่อาศัยหลังอื่นมูลค่า 0-50 ล้านบาท เก็บ 0.02% มูลค่า 50-75 ล้านบาท เก็บ 0.03% มูลค่า 75-100 ล้านบาท เก็บ 0.05% มูลค่าเกิน 100 ล้านบาท เก็บ 0.1%
ส่วนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ 0-50 ล้านบาท เก็บ 0.3%มูลค่า 50-200 ล้านบาท เก็บ 0.4% มูลค่า 200-1,000 ล้านบาท เก็บ 0.5% มูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท เก็บ 0.6% และมูลค่าเกิน 5,000 ล้านบาท เก็บ 0.7%
นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มเติมบทเฉพาะกาลเพื่อบรรเทาภาระภาษีให้กับผู้เสียภาษีที่ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นจากเดิมใน 3 ปีแรก ให้มีการชำระภาษีตามจำนวนที่ต้องเสียหรือพึงชำระในปีก่อน รวมกับภาษีที่เหลือ ดังนี้ ปีแรก ภาษีเก่าบวก 25% ของจำนวนภาษีที่เหลือ ปีที่สอง ภาษีเก่าบวก 50% ของจำนวนภาษีที่เหลือ ปีที่สาม ภาษีเก่าบวก 75% ของจำนวนภาษีที่เหลือ และปีที่สี่จะต้องจ่ายเต็มจำนวน ตลอดจนยังอนุญาตให้มีการผ่อนชำระได้ด้วย
นายพรชัย กล่าวต่อว่า จากการเปิดรับฟังความคิดเห็น เบื้องต้น ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงสร้างภาษีที่ดินใหม่ อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อกังวลในส่วนของอัตราเพดานกับอัตราการเก็บจริง เนื่องจากในกฎหมายภาษีใหม่เปิดช่องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดเห็นว่า มีความจำเป็นต้องใช้เม็ดเงินมากกว่าการจัดเก็บอัตราภาษีจริง สามารถออกข้อบัญญัติเพิ่มจากอัตราการจัดเก็บจริงได้ แต่ไม่เกินอัตราเพดานที่กำหนด ซึ่งขอยืนยันว่า ไม่ได้ปล่อยปละให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีการจัดเก็บภาษีตามอำเภอใจ แต่มีกระบวนการค่อนข้างรัดกุม โดยต้องผ่านการพิจารณาขององค์กรส่วนกลางด้วย
ทั้งนี้ สำหรับขั้นตอนหลังจากนี้จะมีการนำผลจากการเปิดรับฟังความคิดเห็น ไปรวบรวมและปรับปรุงก่อนนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาในชั้นสภานิติบัญญัติวาระสอง และสามต่อไป เพื่อให้มีผลบังคับใช้ทันตามเป้าหมายในปี 2562
สุโสมณี พานทอง คือ 34 และเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมครอบครัว เธอจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี 2554 เธอเป็นเจ้าของและดำเนินงานด้านการปฏิบัติของเธอเองและช่วยเหลือชาวบ้านในชุมชนบ้านเกิดของเธอ เธอแต่งงานโดยไม่มีลูก แต่สนุกกับการใช้เวลาให้กับเมืองของเธอในฐานะเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ได้รับการเลือกตั้ง